Google เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Android 12 Go Edition

Google เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Android 12 Go Edition

shoppingmode Google ทำการเปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่สำหรับสมาร์ทโฟนระดับล่าง – รุ่นประหยัด; Android 12 Go Edition ที่มีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นก่อนหน้า (14 ธ.ค. 2564) shoppingmode Google ทำการเผยโฉมระบบปฏิบัติการใหม่ : Android 12 Go Edition ที่ถูกพัฒนาให้กับสมาร์ทโฟนระดับล่าง – รุ่นประหยัด ที่ซึ่งขาดในส่วนของประสิทธิภาพการทำงานไป ซึ่งก็มีผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการในเวอร์ชั่นไปแล้วถึง 200 ล้านราย

โดย Google ได้ให้คำสัญญาว่าระบบในเวอร์ชั่นนี้นั้นจะมีความเร็ว, ความฉลาดมากขึ้น และมีความเป็นมิตรต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานมากขึ้น

เบื้องต้นนั้น Android 12 Go นั้นจะมีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นมาอีก 30% ทำให้สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่นได้เร็วขึ้น และมีความเรียบเนียนของอนิเมชั่นที่มากขึ้นตามด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังมีการนำเอา SplahScreen API ที่มีอยู่ในตัวระบบพื้นฐานลงมาให้ด้วย

ระบบจะสามารถทำการจำศีลแอปพลิเคชั่นที่ไม่ได้มีการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และพื้นที่ของสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน โดยระบบนั้นจะทำการแจ้งเตือนให้ทราบเมื่อมีการดำเนินการที่ว่า และหากมีการลบข้อมูลนั้นระบบจะยังคงกักข้อมูลไว้เป็นระยะเวลา 30 วัน ก่อนทำการลบอย่างเป็นทางการ

นอกเหนือจากนี้แล้วยังได้มีการเพิ่มเติมตัวเลือกในการรับฟังข่าว หรือการแปลตามภาษาที่ต้องการได้ รวมไปถึงฟังก์ชั่นการแบ่งปันบัญชีผู้ใช้งานกับอุปกรณ์ข้างเคียง และสามารถสลับเปลี่ยนบัญชีผู้ใช้งานได้แบบง่าย ๆ

และท้ายที่สุดนี้ก็เป็นในส่วนการรักษาความปลอดภัยที่ระบบรุ่นนี้นั้นจะมีแผงควบคุมความเป็นส่วนตัวมาด้วย ที่ซึ่งจะทำการแสดงผลการใช้งาน/เข้าถึงข้อมูลของแอปพลิเคชั่น รวมไปถึงการอนุญาตของแอปเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

Android 12 Go นั้นจะมาพร้อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระดับล่าง – รุ่นประหยัด ภายในปี 2022

ส่วนประเด็นที่คนกังวลมากที่สุดในกลุ่มที่มีการเรียนผ่านออนไลน์ คือ กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย เนื่องจากเรียนในที่ที่ไม่ใช่สถานศึกษา 36.2% มีความรู้สึกอึดอัดและทำงานส่งได้ยากขึ้น เพราะขาดอุปกรณ์บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียน 30.8%  มีความกังวลกับวิถีรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 29.3% คิดว่ารูปแบบการเรียนการสอนของหลักสูตรที่เรียน ยังไม่ตอบโจทย์รูปแบบการเรียนออนไลน์ 27.8% และมีความกังวลเรื่องความผิดพลาด ความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดจากการสื่อสาร 27.6%

แม้จะมีสิ่งที่กังวลแต่จากการสอบถามความพึงพอใจ กลับพบว่า ส่วนใหญ่พึงพอใจมากถึงมากที่สุดกับการทำงานและการเรียนวิถีใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นการสะท้อนความคิดเห็นและวิธีคิดของคนในยุคปัจจุบันและเป็นประโยชน์ในการวางแผนในมิติต่างๆ เพื่อหาแนวทางเพื่อรองรับวิถีของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลต่อไป 

พร้อมกันนี้ปีนี้ ETDA ได้มีประเด็น Hot Issue เกี่ยวกับกิจกรรมออนไลน์ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็น New Normal สูงที่สุด 10 อันดับแรกซึ่งถือเป็นกิจกรรมออนไลน์ที่จะมีการทำอย่างต่อเนื่องแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะลดลงแล้วก็ตามคือการซื้อขายสินทรัพย์เพื่อการลงทุนออนไลน์, การชำระค่าสาธารณูปโภคออนไลน์, การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างบุคคลเช่นโอนให้ยืมเงิน, การชำระค่าสินค้าบริการออนไลน์, การอ่านโพสต์ข่าวบทความหนังสือออนไลน์ (e-Book), การโอนเงินบริจาคเงินออนไลน์ (e-Donation), การใช้บริการภาครัฐออนไลน์, การขายอาหารเครื่องดื่มออนไลน์, การค้นหาข้อมูลโดยการสั่งการด้วยเสียงผ่านอุปกรณ์ (Voice Command) และการเข้าร่วมกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเป็นต้น

กสทช. ย้ำ ‘ค่ายมือถือ’ ต้องดำเนินการ ‘ย้ายค่าย’ บริการตามหลักเกณฑ์

กสทช. ได้ทำการประกาศย้ำเตือนให้แก่บรรดา ค่ายมือถือ ว่าต้องดำเนินการ ย้ายค่าย ให้บริการตามความต้องการของลูกค้า และหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ วันนี้ (15 ธ.ค. 2564) สำนักงาน กสทช. ได้ทำการประกาศย้ำเตือนให้แก่บรรดา ค่ายมือถือ ทั้ง AIS, DTAC และ TRUE ว่าต้องดำเนินการ ย้ายค่าย มือถือที่ให้บริการตามความต้องการของลูกค้า และหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ หากมีการฝ่าฝืนจะโดนดำเนินการทางปกครองในทันที

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (14 ธ.ค. 64) สำนักงาน กสทช. เชิญผู้แทนจากบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จํากัด (บริษัทในเครือ TRUE) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด (บริษัทในเครือ DTAC) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (บริษัทในเครือ AIS) เข้ามาให้ข้อเท็จจริงกรณีมีเรื่องร้องเรียน ขอให้สำนักงานฯ ตรวจสอบการประวิงเวลาในการขอโอนย้ายค่าย

ซึ่งหลังจากรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงจากทั้ง 3 บริษัทแล้ว สำนักงานฯ ได้สั่งกำชับให้โอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ค่าย ดำเนินการโอนย้ายค่ายให้กับผู้ใช้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหลักเกณฑ์การโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯ อย่างเคร่งครัด โดยผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีสิทธิที่จะโอนย้ายค่ายไปใช้บริการค่ายที่ตนเองต้องการได้

แต่ทั้งนี้ผู้ที่ขอโอนย้ายนั้นจะต้องเป็นเจ้าของเบอร์ที่ลงทะเบียนซิม ต้องไม่ติดค้างชำระค่าบริการ รวมทั้งต้องไม่ติดเงื่อนไขสัญญาพิเศษเดิมอยู่ ซึ่งโอเปอเรเตอร์จะต้องแจ้งสาเหตุที่ไม่สามารถโอนย้ายค่ายต่อผู้ที่ขอโอนย้ายอย่างชัดเจน และในส่วนที่โอเปอเรเตอร์แต่ละค่ายจะเสนอข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติมเพื่อรักษาลูกค้านั้น ประชาชนจะต้องมีการยืนยันตอบรับข้อเสนอเพิ่มเติมนั้นก่อน โดยโอเปอเรเตอร์ไม่อาจใช้เงื่อนไขที่ว่าหากประชาชนไม่ปฏิเสธหรือยกเลิกจะถือว่าประชาชนรับสิทธิและนำมาใช้เป็นเหตุปฏิเสธการขอโอนย้ายค่ายของประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป