กองทัพเรือ เฝ้าระวังคราบน้ำมันหาดแม่รำพึง 24 ชม.

กองทัพเรือ เฝ้าระวังคราบน้ำมันหาดแม่รำพึง 24 ชม.

กองทัพเรือ ส่งทหาร สอ.รฝ.เดินตรวจหน้าชายหาดตลอดแนวหาดแม่รำพึง พร้อมรับสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กำลังพลจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ได้ปฏิบัติหน้าที่และแบ่งกำลังออกเป็นชุด ตรวจลาดตระเวนพื้นที่ เฝ้าตรวจ ชายหาดตลอดแนวหาดแม่รำพึงตั้งแต่ เขาแหลมหญ้า จนถึง บริษัทไออาร์พีซี จำกัด มหาชน ซึ่งมีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคราบน้ำมันที่จะขึ้นสู่ชายหาด

หากมีคราบน้ำมันขึ้นสู่ชายหาดจะได้เข้าขจัดคราบน้ำมันโดยทันที 

ซึ่งการทำงานจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมกับหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขจัดคราบน้ำมัน เป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพื้นที่ระหว่างเวลา 09.00 น.ถึง 18.00 น. ของเมื่อวานนี้ (12 ก.พ.) บริเวณชายหาดแม่รำพึงไม่พบคราบน้ำมัน โดยที่ผ่านมาเจ้าหน้าจะระดมกันล้อมน้ำมันไว้แล้วคิดเป็นพื้นที่ ประมาณ 0.36 ตารางกิโลเมตร หรือ 225 ไร่

สำหรับ วันนี้ (13 ก.พ.) กำลังพลของกองทัพเรือ และ พนักงานบริษัท บริษัท สตาร์ปิโตเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน ระดมกันนำอุปกรณ์ที่เรียกว่า “โฟม บูม” ( Foam Boom) มาเตรียมไว้ บริเวณริมชายหาดบริเวณ แหลมรุ่งเรือง ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง โดยจะนำออกไปในทะเลบริเวณจุดที่คาดว่าจะพบคราบน้ำมันที่รั่วและลอยอยู่ในทะเลขณะนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ กองทัพเรือ โดย ทัพเรือภาคที่ 1 ได้สนับสนุนการขจัดคราบน้ำมัน จัดเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ขึ้นบินนำสารเคมี DASIC international SLICKGONE ไปโปรยบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ และได้จัดกำลังพลจาก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) จำนวนผลัดละ 40 นาย เข้าประจำพื้นที่บริเวณหาดแม่รำพึง จ.ระยอง มาต่อเนื่่อง

สำหรับประเด็นแท็กซี่ขอฟังเสียงตดของผู้โดยสาร ทำให้หลายคนเป็นกังวลกับพฤติกรรมของคนขับแท็กซี่รายนี้เป็นอย่างมาก โดยบางส่วนเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการหรือมีการพาไปเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

เห็นได้จากก่อนหน้านี้ รฟท. เคยได้รับมอบตู้โดยสารรถไฟจากประเทศญี่ปุ่น มาปรับปรุงและใช้ในกิจการรถไฟมาแล้ว เช่น การรับมอบตู้โดยสารจากบริษัท JR-West นำมาให้บริการเป็นขบวนตู้นอนปรับอากาศ ได้นำพ่วงกับขบวนรถด่วนที่ 51 เส้นทาง กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ และนำมาพ่วงกับขบวนรถเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้กับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล รวมถึงบางส่วนหนึ่งนำมาดัดแปลงให้เป็นตู้พิเศษ เช่น รถ SRT Prestige รถประชุมปรับอากาศ ฯลฯ เป็นรถเช่าเหมาคัน

‘กุมารแพทย์’ ค้าน ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-ไฟเซอร์ ใน เด็ก

กุมารแพทย์ ค้าน สธ. ฉีด วัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-ไฟเซอร์ ใน เด็ก แนะนำฉีด mRNA ชนิดเดียวกันทั้งสองเข็ม และลดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกมาแสดงความเห็นหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอกับทาง ศบค. ให้ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ชนิดเชื้อตายกับ mRNA ในเด็กอายุ 6-17 ปี และได้รับการอนุมัติดั่งที่รายงานไปก่อนหน้านี้นั้น

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับข้อแนะนำจากกระทรวงสาธาณสุข (สธ.) การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม+ไฟเซอร์ในเด็ก 12-17 ปี นั้น วีคซีนทั้ง 3 ยี่ห้อได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยา (อย.) เพื่อนำฉีดในเด็กได้

โดยส่วนตัวมองว่า การฉีดวัคซีนเชื้อตายตามด้วยวัคซีนชนิด mRNA จะช่วยลดปริมาณการฉีดวัคซีนเชื้อตายหลายเข็มได้ เนื่องจาก การฉีดเชื้อตาย 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันยังขึ้นไม่ดีนัก ส่วนการฉีดไขว้ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นเทียบเท่าการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม

อย่างไรก็ตาม แม้การรับวัคซีนสูตรไขว้ในเด็กสามารถทำได้ แต่จริง ๆ ไม่เห็นด้วยกับการฉีดวัคซีน 2 ชนิด เพราะ วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มก็มีเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นให้เด็กต้องฉีดวัคซีนสูตรไขว้

ส่วนกรณีคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เตรียมศึกษาฉีดสูตรไขว้เด็กอายุ 6-11 ปี เหมือนเด็กอายุ 12-17 ปีนั้น นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า แนะนำเข็มแรกควรเป็นชนิด mRNA หรือไฟเซอร์ แต่หากฉีดเข็มแรกเป็นเชื้อตายมาแล้ว ก็สามารถฉีดเข็ม 2 เป็นไฟเซอร์

แต่ทางที่ดีที่สุดคนที่ยังไม่ฉีดเข็มแรก ขอให้ฉีดเป็นชนิด mRNA และตามด้วยเข็ม 2 ชนิดเดียวกัน ยกเว้นก่อนหน้านี้ฉีดเชื้อตาย อย่างซิโนแวคหรือซิโนฟาร์ม ก็ต้องฉีดเข็ม 2 เป็นไฟเซอร์ ซึ่งราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ได้ออกคำแนะนำไว้แล้ว

สำหรับข้อกังวลเรื่องการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรืออาจเกิดการตกค้างจากการฉีดวัคซีน mRNA นั้น ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาระบุว่า ฉีดไฟเซอร์ในเด็ก 2 เข็ม เว้นระยะห่างราว 8 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่าการฉีดห่างกัน 4 สัปดาห์ ราว 10 เท่า และลดการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้อีกด้วย ซึ่งราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ก็ได้แนะนำเช่นนั้น

ส่วนการฉีดบูสเตอร์โดสเข็มที่ 3 ในเด็ก ยังไม่แนะนำ ยกเว้นเด็กกลุ่มเสี่ยง 7 โรค ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งต้องฉีดกระตุ้นเป็นระยะ ๆ